ประโยชน์ของการเล่นหมากรุกสากล



การเล่นหมากรุกสากลได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ มุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการแก้ปัญหา และการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 


ประโยชน์ของการเรียนและเล่นหมากรุกสากล

1. ยกระดับคุณภาพความคิด (IQ) 

2. รู้จักการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ (ตัวหมากแต่ละตัวเปรียบเสมือนคนที่มีความสามารถเด่นแตกต่างกันดังนั้นจึงควรมอบหมายหน้าที่ให้ต่างกัน)

3. เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา 

4. เพิ่มความสามารถในการจดจำ 

5. เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ 

6. ฝึกสมาธิ

7. สอนการวางแผนและการมองการณ์ไกล 

8. พัฒนาทักษะการอ่าน .... ฯลฯ


ที่สำคัญกว่านั้น ทักษะที่กล่าวข้างต้นในการเล่นหมากรุกสากลยังใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ในวิชาอื่นๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในโรงเรียน (เช่น รัสเซียที่มีวิชาหมากรุกสากลในโรงเรียน) ดังนั้นนอกจากจะเป็นนักกีฬาหมากรุกสากลแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาสมองในการเรียนได้ด้วย โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นการคิดแบบคำนวณ แบบตรรกะ (Logical Thinking) ซึ่งช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันกับหมากรุกสากล  


ประโยชน์ด้านการส่งเสริมการศึกษา



ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำมีจำนวนโควต้าสำหรับนักเรียนที่เป็นนักกีฬาหรือมีความสามารถพิเศษ ซึ่งกีฬาหมากรุกสากลก็เป็นหนึ่งในโควต้านักกีฬาของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเหมือนกับกีฬาอื่นๆ เช่นกัน โดยมีการรับรองจากสมาคมกีฬาหมากรุกสากลแห่งประเทศไทยในผลงานของนักเรียนที่เป็นนักกีฬาหมากรุกสากล


นักกีฬาหมากรุกสากลที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็จะมีโอกาสได้รับทุกการศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ  รวมถึงนักกีฬาที่เป็นตัวแทนทีมชาติไทย(เช่นใน SEA Games, Asian Games, World Youth, Asian School และการแข่งขันอื่น ๆ อีกมากมาย) 

ก็จะได้รับการสนับสนุนจากสมาคมกีฬาหมากรุกสากลแห่งประเทศไทยในหลายๆด้าน


การคิดเชิงตรรกะกับหมากรุกสากล


 คือการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์หาเหตุผลแท้จริงของความสำเร็จและล้มเหลว แสดงลำดับขั้นตอนของเรื่องราวอย่างชัดเจน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นั่นก็คือตัวหมากรุสากลแต่ละตัวที่มีจุดเด่น และความสามารถแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรใช้ให้เหมาะสม


อาจกล่าวได้ว่าการคิดเชิงตรรกะคือ “การตัดสินใจแบบมีเหตุผลรองรับ” ดังนั้นความคิดเชิงตรรกะถือว่าเป็นกระบวนการสร้างนิสัยการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การตัดสินใจใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และหลีกเลี่ยงการคิดแก้ปัญหาที่ยึดติดกับกรอบความคิดเดิม